หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่กำลังมีปัญหา กับผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งกับเจ้านาย ไม่ถูกกับเพื่อนร่วมงาน หรือมีปัญหากับลูกน้อง ซึ่งย่อมจะทำให้ คุณรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ เบื่อไม่อยากทำงาน เราก็มีคำแนะนำ ในการปรับตัวจากกรมสุขภาพจิตมาฝากกัน
ถ้าคุณรู้สึกเบื่อความวุ่นวาย ในที่ทำงาน เบื่อที่จะต้องประสานงาน กับคนหลาย ๆ คน คุณอาจเปลี่ยนงาน ไปทำงาน ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก เช่น ทำงานด้านเอกสาร ทำงานด้านศึกษาค้นคว้า ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือทำงานในห้องทดลองแทน เป็นต้น
แต่ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ ก็ควรปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยให้ความสนใจคนรอบข้าง ให้น้อยลงกว่าเดิม ใครจะนินทาใคร คุณก็เดินหนีไม่ร่วมฟังด้วย ใครจะนินทาคุณ คุณก็ไม่ใส่ใจ ถือเสียว่า เป็นเรื่องธรรมดา ใคร ๆ ก็เคยถูกนินทาด้วยกันทั้งนั้น และการมีคนนินทา ยังแสดงว่า มีคนให้ความสนใจคุณด้วย คุณควรมุ่งความสนใจ ไปที่งานให้มากขึ้น ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด เพื่อให้เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ยอมรับในความสามารถของคุณ
ถ้าคุณมีปัญหากับใคร ควรใช้หลักการ ประนีประนอม พูดจากันด้วยเหตุผล เพื่อปรับความเข้าใจกัน และอาจหาคนกลาง มาช่วยไกล่เกลี่ยปัญหา ด้วยก็ได้
ถ้าคุณรู้สึกว่า ถูกเพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ โดยการขอให้คุณช่วยงานเขาบ่อย ๆ ก็ควรคิดหา คำปฏิเสธ ที่มีเหตุผลเอาไว้ล่วงหน้า ถ้าเขามาขอความร่วมมือ จากคุณอีก คุณจะได้ปฏิเสธเขาไป อย่างนุ่มนวล ไม่เสียสัมพันธภาพต่อกัน
ถ้าคุณไม่มีเพื่อนสนิท ในที่ทำงานเลย อยากให้คุณ หาเพื่อนต่างที่ทำงาน เอาไว้สักคน สองคน เพื่อปรับทุกข์เรื่องงานกัน หรืออาจจะปรึกษา คนในครอบครัวก็ได้ค่ะ จะช่วยให้คุณรู้สึกว่า ไม่โดดเดี่ยว และไม่ได้ถูกทิ้ง ให้สู้ปัญหาตามลำพัง
ถ้าคุณรู้สึกเบื่อความวุ่นวาย ในที่ทำงาน เบื่อที่จะต้องประสานงาน กับคนหลาย ๆ คน คุณอาจเปลี่ยนงาน ไปทำงาน ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก เช่น ทำงานด้านเอกสาร ทำงานด้านศึกษาค้นคว้า ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือทำงานในห้องทดลองแทน เป็นต้น
แต่ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ ก็ควรปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยให้ความสนใจคนรอบข้าง ให้น้อยลงกว่าเดิม ใครจะนินทาใคร คุณก็เดินหนีไม่ร่วมฟังด้วย ใครจะนินทาคุณ คุณก็ไม่ใส่ใจ ถือเสียว่า เป็นเรื่องธรรมดา ใคร ๆ ก็เคยถูกนินทาด้วยกันทั้งนั้น และการมีคนนินทา ยังแสดงว่า มีคนให้ความสนใจคุณด้วย คุณควรมุ่งความสนใจ ไปที่งานให้มากขึ้น ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด เพื่อให้เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ยอมรับในความสามารถของคุณ
ถ้าคุณมีปัญหากับใคร ควรใช้หลักการ ประนีประนอม พูดจากันด้วยเหตุผล เพื่อปรับความเข้าใจกัน และอาจหาคนกลาง มาช่วยไกล่เกลี่ยปัญหา ด้วยก็ได้
ถ้าคุณรู้สึกว่า ถูกเพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ โดยการขอให้คุณช่วยงานเขาบ่อย ๆ ก็ควรคิดหา คำปฏิเสธ ที่มีเหตุผลเอาไว้ล่วงหน้า ถ้าเขามาขอความร่วมมือ จากคุณอีก คุณจะได้ปฏิเสธเขาไป อย่างนุ่มนวล ไม่เสียสัมพันธภาพต่อกัน
ถ้าคุณไม่มีเพื่อนสนิท ในที่ทำงานเลย อยากให้คุณ หาเพื่อนต่างที่ทำงาน เอาไว้สักคน สองคน เพื่อปรับทุกข์เรื่องงานกัน หรืออาจจะปรึกษา คนในครอบครัวก็ได้ค่ะ จะช่วยให้คุณรู้สึกว่า ไม่โดดเดี่ยว และไม่ได้ถูกทิ้ง ให้สู้ปัญหาตามลำพัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น