จำนวนผ้ชม

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่6การใช้โปรเเกรมMicrosoft Excel

ปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program
3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel
1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet
2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column
3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row
4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell
5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer
การเลื่อน Cell Pointer
1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน
2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน
3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1
4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด
5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย
6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ
การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล
2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ
3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้
การลบข้อมูลในเซลล์
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ
2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
การแก้ไขข้อมูล
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล
2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์
3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)
4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter
การย้ายข้อมูล (Move)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย
การคัดลอกข้อมูล (Copy)
1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล
2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก
สีดำ
3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย
การปรับความกว้างของคอลัมน์
1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)
2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง
ปรับความกว้างอัตโนมัติ
การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ
2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ
3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)
4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้
การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร
2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ
3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้
4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง
ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ
1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ
ซ้าย – ขวา)
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ
การคำนวณหายอดรวม
1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )
3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)
4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้
การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F
วิธีการคือ
1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1
2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)
3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้
การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1
2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter
3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)
การตีตาราง
1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ
3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด
4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้
การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี
ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)
3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก
ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข
1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม
2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)
3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว
การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว
1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง
2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก
3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด
4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์
5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ
6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี
7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก
8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี
1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน
2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)
3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย
4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ
5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป
6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง
7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้
8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ
9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม
10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ
การคำนวณหาค่าต่าง ๆ
1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ
2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)
3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น
4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ
5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง
6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้
คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ
ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE
ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX
ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN
ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF
ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT
การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ
1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7
2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์
3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)
4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ
5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2
6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย
7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ
a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)
b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า
เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย
8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ
การตกแต่งกราฟ
1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ
a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)
b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล
d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน
e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง
f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ
2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง
a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที
c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้
d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที
3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ
a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ
b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ
c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ
d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที

หน่วยการเรียนรู้ที่5เครื่องหมายการค้า

จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบ สารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปีสิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)
การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

หน่วยการเรียนรู้ที่4ภาษาเครื่อง

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ประวัติการพัฒนาภาษาปาสคาล
ประมาณปี พ.ศ. 2514 ดร.นิคลอล เวียร์ต (Professor Doctor Nicklaus Wirth) ชาวเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาภาษาหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาภาษานี้ คือ ให้เป็นภาษาสำหรับฝึกเขียนโปแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบและมีระเบียบ และได้กำหนดให้ภาษาใหม่นี้มีชื่อว่า ภาษาปาสคาล (Pascal Language) เพื่อเป็นเกียรติแก่ Blaise Pascal นักคณิตศาสตร์และปรัชญาแมธีชาวฝรั่งเศสผู้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก
ภาษาปาสคาลมีต้นแบบมาจากภาษา ALGOL (Algorithmic Language) และตัวภาษาปาสคาลเองก็ได้ถูกพัฒนาต่อไปเป็นภาษาที่รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ เช่น ภาษา MODULA2 ภาษา Ada ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต แต่เป็นภาษาใหม่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลต้องเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้างและมีระเบียบ แบบแผน เป็นภาษาที่ไม่มีหมายเลขบรรทัดแต่ทำงานตามลำดับโครงสร้างของโปรแกรม ดังนั้นภาษาปาสคาลเหมาะกับการศึกษาภาษาที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดย ตรงและวิธีการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้องเพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาชั้น สูงอื่น ๆ และ ภาษาเครื่อง รวมทั้งซอฟต์แวร์กึ่งสำเร็จรูป ต่อไปได้
สัญลักษณ์เบื้องต้น (Basic Symbol)
สัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาปาสคาลแบ่งออกได้เป็น 3 พวก ได้แก่
1. letter ได้แก่ A-Z , a-z และ มีขีดล่าง (_ อ่านว่า Underscore)
2. digit ได้แก่ 0-9 3 . Special symbol สัญลักษณ์พิเศษได้แก่ + - * / = ^ () [] {}. , : ; ' # $
หมายเหตุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างอักษรพิมพ์ใหญ่และอักษรพิมพ์เล็ก
คำอธิบาย
โดยหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาลแล้วจะต้องเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามรูปแบบของคำสั่งภาษาซึ่งจะมีความหมายในตัวเองแล้ว แต่บางครั้งถ้าต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อสร้างความเข้าใจสามารถเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ได้ในเครื่องหมาย { } ซึ่งสิ่งที่อยู่ในเครื่องหมาย { } ภาษาปาสคาลจะไม่ทำการคอมไพ
การเขียนคำอธิบายอาจจะเขียนอยู่ในโปรแกรม คือ ตั่งแต่คำว่า PROGRAM จนถึงคำว่า END. หรือจะอยู่นอกโปรแกรมก็ได้ เช่น
ตัวอย่าง 1.3.1 การเขียนคำอธิบายในโปรแกรม
Program Show Name;
Uses Crt;
Ch : Char;
Begin
{โปรแกรมแนะนำตนเอง}
Clrscr;
Writeln(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);
Writeln(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);
Writeln(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);
Ch := read key;
End.
ตัวอย่าง 1.3.2 การเขียนคำอธิบายนอกโปรแกรม
{โปรแกรมแนะนำตนเอง}
Program Show Name;
Uses Crt;
Ch : Char;
Begin
Closure;
Written(‘อรทัย ชัยรัตนศักดิ์’);
Written(‘โปรแกรมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ’);
Written(‘สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม’);
Ch := read key;
End.
ชื่อ (Identifier)
ชื่อ ได้แก่ ชื่อที่ใช้ในโปรแกรม เช่น ใช้เป็นชื่อโปรแกรม ชื่อตัวแปร ชื่อตัวคงที่ ชื่อ procedure ชื่อ Function ชื่อประกอบขึ้นจาก letter หรือ digit แต่จะต้องไม่ขึ้นต้นด้วย digit และจะต้องไม่มีช่องว่างในส่วนประกอบเหล่านี้ ชื่อต้องมีความยาวอย่างน้อย 1 อักขระ แต่ไม่เกิน 127 อักขระ หรือไม่เกิน 1 ไลน์ (Line)ตัวอย่าง
1. ต่อไปนี้เป็น identifier
power ,Supper ,x_bar ,X2
2. ต่อไปนี้ไม่เป็น identifier
4time ไม่เป็นเพราะขึ้นต้นด้วยตัวเลข
No. ไม่เป็นเพราะมีเครื่องหมาย .
name#5 ไม่เป็นเพราะมีเครื่องหมาย #
xy 8 ไม่เป็นเพราะมีช่องว่าง
คำในภาษาปาสคาล (Word)
Word ได้แก่คำที่ใช้ในปาสคาลแบ่งออกได้เป็น
1. คำสงวน (Reserved Word) ได้แก่คำที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบต่าง ๆ ในProgram ตามข้อกำหนดของภาษาปาสคาล ซึ่งคำสงวนนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และไม่สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อได้
2. คำมาตรฐาน (Standard Word) ได้แก่คำที่เป็น Procedure หรือ Functionมาตรฐาน เป็นคำที่เปรียบเสมือนคำสั่งในโปรแกรม แต่ตัวมันเองเป็นโปรแกรม สามารถนำคำมาตรฐานมาเป็นชื่อได้แต่ไม่ควรทำเพราะจะทำให้เสียความหมายเดิมไป จึงต้องระวังอย่ากำหนดชื่อให้ซ้ำกับคำมาตรฐาน คำมาตรฐานได้แก่คำที่กำหนดใหม่ (User defined Word) โดยผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเขียนเป็น Procedure หรือ Function และต้องไม่เป็นคำที่ปรากฏในข้อ 1, 2
ค่าคงที่ (Constants)
ค่าคงที่ (Constants) คือ ค่าที่กำหนดขึ้นมาใช้ในโปรแกรม โดยค่าคงที่นี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่านั้นอีกตลอดการรันโปรแกรมนั้น ๆ เช่น
‘G’ เป็นค่าคงที่แบบอักขระ
‘Computer’ เป็นค่าคงที่แบบสตริง
2546 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข
หมายเหตุ
1. ค่าคงที่แบบอักขระและแบบสตริงต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดเดี่ยวเท่านั้น (‘ ‘) และภายในเครื่องหมายคำพูดหากมีการเว้นช่องว่างจะถือว่าเป็นอักขระตัวหนึ่ง คือเป็นช่องว่างเมื่อออกจอภาพ
2. 2456 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข อ่านว่า สองพันสี่ร้อยห้าสิบหก สามารถนำไปทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ถ้าเขียนไว้ในเครื่องหมายคำพูด ’2456’ จะเป็นค่าคงที่แบบสตริง อ่านว่า สองสี่ห้าหก ไม่สามารถนำมาทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้
แบบของข้อมูล (Data Type)
แบบของข้อมูล (Data Type) คือ การกำหนดคุณสมบัติให้กับตัวแปรข้อมูลชนิดนั้น ๆ ซึ่งแต่ละภาษาจะมีแบบของข้อมูลที่กำหนดมาให้เป็นมาตรฐานแล้ว เช่น Integer Real Boolean Char หรือผู้ใช้สามารถกำหนดแบบของข้อมูลชนิดใหม่ขึ้นมาใช้ได้ด้วยตัวเอง เช่น String Array
ตัวแปร (Variables)
ตัวแปร (Variables) คือ การตั้งชื่อหน่วยความจำที่ใช้ในการอ้างถึงหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลในภาษาเครื่องโดยอ้างถึงแอดเดรส สามารถอ่านค่าและเปลี่ยนแปลงค่าได้ตลอดเวลา
สำหรับขนาดของหน่วยความจำของแต่ละข้อมูลหรือแต่ละตัวแปรนั้น จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นกับแบบของข้อมูลของตัวแปรนั้น ๆ และตัวแปรแต่ละตัวถ้ากำหนดมาสำหรับแบบข้อมูลแบบไหนจะเก็บข้อมูลแบบนั้นได้ เท่านั้นไม่สามารถเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ ได้ การกำหนดตัวแปร เช่น
Var I : Integer;
R : Real;
Ch : Char;
St : String(10);
เป็นการกำหนดตัวแปร I เก็บข้อมูลแบบ Integer คือจำนวนเต็ม R เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบจำนวนจริง Ch เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบอักขระ และ St เป็นตัวแปรเก็บข้อมูลแบบสตริงยาวไม่เกิน 10 อักขระ
การให้ค่าคงที่ตัวแปร (Aassignment Variables )
เมื่อกำหนดตัวแปรแล้ว การดำเนินการทำสำคัญกับตัวแปร คือ การให้ค่ากับตัวแปร ซึ่งทำได้ 2 วิธีการ คือ
1. การอ่านจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด การอ่านค่าจากไฟล์ข้อมูล
2. การให้ค่าแก่ตัวแปรในโปรแกรม การให้ค่าแก่ตัวแปรในโปรแกรม ด้วยเครื่องหมาย := หมายความว่า เอาค่าที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของเครื่องหมาย มาเก็บไว้ที่ตัวแปรที่อยู่ทางด้านขวามือของเครื่องหมาย สิ่งที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของเครื่องหมาย ต้องเป็นตัวแปรครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ทางด้านขวามือของเครื่องหมาย สามารถเป็นได้ คือ
1. ค่าคงที่ เช่น Num: = 3; เป็นการให้ค่า 3 แก่ตัวแปร Num
Name: = ‘อรทัย’; เป็นการให้ค่า ‘อรทัย’ แก่ตัวแปร Name
2. ตัวแปร เช่น Sum: = Num; เป็นการให้ค่า Num แก่ตัวแปร Sum ดังนั้น Sum ก็จะมีค่า 3 ตามค่าของ Num
3. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ เช่น Sum: = Num + 5; จะนำค่า Num มาเพิ่มอีก 5 แล้วให้ค่าแก่ตัวแปร Sum ดังนั้น Sum จะมีค่าเป็น 8

Num := Num + 1; จะนำค่า Num มาเพิ่มอีก 1 แล้วเก็บค่าไว้ที่ Num เหมือนเดิม ดังนั้น Num จะมีค่า เป็น 4
4. ฟังก์ชั่น เช่น Ch := Chr (125); เป็นการนำค่า 125 มาทำการแปลงด้วยคำสั่ง Chr ซึ่งเป็นการอ่านค่าตามรหัส ASCII ให้แก่ตัวแปร Ch
คณิตศาสตร์บูลีน (Boolean algebra)
คณิตศาสตร์บูลีน (Boolean Algebra) เป็นการดำเนินกรรมวิธีทางตรรกตัวดำเนินการ (Operators) ที่ใช้มากและมีในภาษาปาสคาลได้ได้ AND, OR และ XOR เรียกว่าตัวดำเนินการบูลีน (Boolean Operators) AND ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงทั้งหมด นอกนั้นอีก 3 กรณีเป็นเท็จ OR ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งเป็นจริง ให้ความเป็นเท็จเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จทั้งหมด XOR ให้ความเป็นจริงเมื่อเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งเป็นจริงเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ถ้าเหมือนทุกเงื่อนไขจะเป็นเท็จ
operator operation operanal type result type
AND arithmetic and Integer Integer
AND logical and Boolean Boolean
OR arithmetic or Integer Integer
OR logical or Boolean Boolean
XOR arithmetic xor Integer Integer
XOR logical xor Boolean Boolean
ตัวอย่าง ตารางตรรกศาสตร์บูลีน
X Y AND OR XOR
true true true true false
true false false true true
false true false true true
false false false false false
ตัวดำเนินการ (Operators)
ตัวดำเนินการ (Operators) คือ เครื่องหมายที่ใช้ในการดำเนินกรรมวิธี เช่น เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น กรรมวิธีในการดำเนินการในภาษาปาสคาล กระทำเช่นเดียวกับพีชคณิต คือ จะให้ข้อมูลทางซ้ายของตัวดำเนินการเป็นตัวตั้ง และให้ข้อมูลทางขวาของตัวดำเนินการเป็นตัวกระทำ

หน่วยการเรียนรู้ที่3ภาษาเคื่อง

การพัฒนาโปรแกรม

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถทำงาน ได้ตามชุดคำสั่ง ในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง ซึ่งจะทำงานตามคำสั่งที่ละคำสั่ง โดยคำสั่งที่ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ จะต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาเครื่อง ถ้าเขียนโปรแกรมด้วยภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องก็ต้องมีตัวแปลมาช่วยแปลคำสั่งเหล่านั้นให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งตัวที่มาช่วยแปลนี้เรียกว่า ตัวแปลภาษา เช่น Compiler หรือ Interpreter
ในการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรมนั้น โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้เขียนโปรแกรม ต้องมี การเตรียมงาน เกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอน เรียกขั้นตอนเหล่านี้ว่า วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้
ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study)
ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorythm Design)
ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding)
ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation)
ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)
ภาพที่ 2.1 วงจรการพัฒนาโปรแกรม (Program Devenlopment Life Cycle:PDLC)
วิธีการทางคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนในการจัดทำโปรแกรม ที่ช่วยให้การเขียนโปรแกรม ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามความมุ่งหมาย เพราะแต่ละขั้นตอนจะช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ การเรียบเรียงแนวคิดมีความชัดเจน ไม่สับสน และเกิดความง่ายต่อการเขียนและพัฒนาโปรแกรม แม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีการสมัยใหม่เกิดขึ้น เช่นแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แต่วิธีการทางคอมพิวเตอร์ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และน่ากระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เริ่มต้นใหม่กับงานเขียนโปรแกรม เพราะช่วยให้แนวคิดของการพัฒนาโปรแกรม เป็นระเบียบไม่สับสน

หน่วยการเรียนรู้ที่2 การวางแผนระบบ

ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ

สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)

ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ

ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ

การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น

ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)
ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system)
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system)
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)

หน่วยการเรียนรู้ที่1ระบบเลขฐานสิบ

ระบบเลขฐาน จัดเป็นระบบตัวเลขที่ใช้งานอยู่ใน PLC ดังนั้นผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องศึกษาระบบเลขฐานให้เข้าใจประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง

ระบบเลขฐานสอง (Binary)
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)
ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)

ความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX สามารถกำหนดให้เป็นตารางได้ดังนี้


HEX
BCD
FOUR DIGIT BINARY



2

BIN (Binary) = ระบบเลขฐานสอง
BCD (Binary Code Decimal) = ระบบเลขฐานสิบ
HEX (Hexadecimal) = ระบบเลขฐานสิบหก




1. ระบบเลขฐานสอง (Binary)
ระบบเลขฐานสอง (Binary) จะเป็นระบบเลขที่ง่ายกว่าเลขฐานสิบ เนื่องจากระบบเลขฐานสอง จะใช้ัอักขระแทนสองตัว ระบบเลขฐานสองนี้ใช้ในระบบดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะว่าวงจรดิจิตอลจะมีเพียงสองสถานะ(two states)หรือระดับสัญญาณสองระดับ (two signal levels)โดยมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 2 ตัว คือ 0 และ 1 หรืออาจใช้คำอื่นแทน


สถานะหนึ่ง สถานะตรงข้าม
0 1
Off On
Space Mark
Open Closed
Low Hi

ถ้าจะเทียบเลขฐานสองกับเลขฐานสิบแล้ว เลขฐานสองจะมีจำนวนหลักมากกว่า เพราะว่าในแต่ละหลักจะมีเลขได้สองค่า แต่ถ้าเป็นเลขฐานสิบแต่ละหลักจะมีเลขได้เก้าค่าคือ 0 ถึง 9
ระบบเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าเวจต์เป็นค่าสิบยกกำลังของหลักนั้น ระบบเลขฐานสองก็เช่นเดียวกัน จะมีฐานของเลขฐานสอง (base 2 system) การหาค่าเวจต์ในแต่ละหลักจะหาได้จากค่ายกกำลังสองของหลักนั้นๆ


ฐานสอง ฐานสิบ
2^0


ค่าของ2ยกกำลังต่างๆเป็นฐานสิบ
ถ้าต้องการแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบก็สามารถทำได้ เช่นถ้าแปลงเลข 101101 เป็นเลขฐานสิบสามารถทำได้ดังนี้
(1x2^5)+(0x2^4)+(1x2^3)+(1x2^2)+(0x2^1)+(1x2^0) = 45
ตัวเลขฐานสอง 101101 จะมีค่าเท่ากับ 45 ในระบบเลขฐานสิบ
ระบบเลขฐานสองก็มีทศนิยมเช่นเดียวกับระบบเลขฐานสิบ ซึ่งเรียกว่าไบนารีพอยต์(binary point) โดยจะมีเครื่องหมายจุดแบ่งตัวเลขจำนวนเต็มกับเลขทศนิยมออกจากกัน ค่าเวจต์ของเลขทศนิยมแต่ละหลักจากซายไปขวาจะเป็นดังนี้ 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/16........ไปเรื่อยๆหรืออาจจะเขียนเป็นเลขยกกำลังค่าลบก็ได้




ค่าของ2ยกกำลังค่าลบ เป็นเลขฐานสิบ

ในระบบเลขฐานสิบนั้นแต่ละหลักจะเรียกว่าหลัก แต่ถ้่าเป็นระบบเลขฐานสองแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต (bit) คำว่าบิต (bit) ย่อมาจาก binary digit ถ้าในงานดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ จะพบคำว่า “Bit” บ่อยมาก
ในแต่ละหลักของเลขฐานสอง หลักซึ่งมีค่าเวจต์ต่ำสุดซึ่งอยู่ทางด้านขวาสุด จะเรียกว่าบิตที่มีความสำคัญต่ำสุด(LSB : Least Significant Bit) สำหรับด้านที่อยู่ซ้ายสุดจะมีค่าเวจต์สูงสุด เรียกว่าบิตที่มีความสำคัญสูงสุด(MSB : Most Significant Bit) ถ้าใช้ในระบบเลขฐานสิบจะเรียกว่า LSD(Least Significant Digit) และ MSD(Most Significant Digit) ในระบบดิจิตอลในบางครั้งเราจะเห็นเขียนว่า MSD , LSD กำกับเอาไว้ด้วย



2. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)
ระบบเลขฐานสิบ (Decimal) มีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ BCD code อันนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากเพราะอยู่ใ้นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

3. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)
ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 16 ตัว คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)
ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตัวเลขที่ใช้ในการประมวลผลจะเป็นเลขฐานสอง แต่ถ้าตัวเลขมีค่ามากจะทำให้เลขฐานสองมีหลายหลัก จึงใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสอง แล้วจะมีการแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสองอีกทีหนึ่ง เลขฐานสิบหกนั้นจะนิยมใช้มากในคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไบนารี่ที่ใ่ช้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสิบหกได้ตั้งเเต่ 0 ถึง 255 แต่สามารถแทนด้วยเลขฐานสิบหกเพียงสองหลักเท่านั้น ถ้าหากเรามีเลขฐานสิบ 99,999,999 ถ้าเขียนแทนด้วยเลขไบนารีจะต้องใช้หลายบิต แต่ถ้าเขียนเเทนด้วยเลขฐานสิบหกจะใช้เพียงไม่กี่หลัก
ค่าสิบหกสามารถแทนได้ด้วยสองยกกำลังสี่ หรือ 16 = 2^4 ดังนั้นเลขฐานสิบหกจึงสามารถเขียนแทนด้วยเลขฐานสองได้สี่บิต โดยมีค่าตั้งแต่ 0000 ถึง 1111 หรือแทนด้วยอักษร 0 ถึง F ความสัมพันธ์ระหว่างเลขฐานสอง ฐานสิบ และฐานสิบหกแสดงใ้ว้ในตารางความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบหกก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยจัดเลขฐานสองตั้งแต่บิตแรกจนถึงบิตสุืดท้ายเป็นกลุ่มๆ โดยจัดกลุ่มละ 4 บิตและแทนค่าด้วยเลขฐานสิบหกแต่ละค่าให้สอดคล้องกันตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบหก

—การแปลงเลข 10101011111101 เป็นเลขฐานสิบหกสามารถทำได้โดย การแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 บิตดังนี้
0010 1010 1111 1101
จะเห็นว่าถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 บิต จะมีสองบิตบนที่จัดกลุ่มไม่ได้ ก็ให้เติม 0 ไปในกลุ่มนั้นให้ครบ 4 บิต จากนั้นแทนค่าตัวเลขแต่ละกลุ่มด้วยเลขฐานสิบหกดังนี้
2 A F D
ดังนั้นจะได้ 10101011111101 มีค่าเท่ากับ 2AFD

ให้จำใว้ว่าเลขฐานสิบหกที่เรามองเห็นนั้นเป็นการใช้แทนเลขไบนารีเพราะ CPU ไม่สามารถประมวลผลเลขฐานสิบหกได้

ประวัติพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
- เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
- ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"



2.วัยเด็ก
- หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
- ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
- พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
- เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

3.เสด็จออกผนวช

- เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า
-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ

- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้


- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)

4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

- ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...
“ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
- ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
- ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
- ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
- อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
- เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า





5.ปฐมเทศนา

- หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
บัว ๔ เหล่า ได้แก่
๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"
ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว
- โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า

"ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ "
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก
- หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์




6.ลักษณะการแสดงธรรม
- สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางธรรมมาก่อนจะทรงเทศน์ "อนุปุพพิกถา" ซึ่งว่าด้วยเรื่อง
- คุณของการให้ทาน การรักษาศีล
- สวรรค์ (การแสวงสุขเนื่องจากการให้ทาน การให้ศีล)
- โทษของกามและการปลีกตัวออกจากกาม
- จากนั้นจึงทรงเทศน์ อริยสัจ 4


7.แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร
- ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือนหนีออกจากบ้าน ไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวันในเวลาเช้ามืด แล้วพบพระพุทธเจ้าบังเอิญ ยสกุลบุตรสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช
- อุบาสิกอุบาสิกาคู่แรก คือ บิดามารดาของพระยสะ
- ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ 4 คนกับอีก 50 คน ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก 61 องค์



8.การส่งสาวกออกประกาศศาสนา
- ตรัสเรียกสาวกออกประกาศศาสนา เมื่อมีสาวกครบ 60 รูป (ปัญจวัคคีย์และพวกพระยสะ)
- ตรัสให้พระสาวก 60 รูปแยกย้ายกันประกาศศาสนา 60 แห่งไม่ซ้ำทางกัน
- พระองค์จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
- เมื่อสาวกออกประกาศเทศนา มีผู้ต้องการบวชมาก และหนทางไกลกัน จึงทรงอนุญาตให้สาวกดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" (ปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย)



9.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ
- วิธีเผยแพ่รศาสนาในกรุงราชคฤห์ ทรงเทศน์โปรดชฎิล(นักบวชเกล้าผม)สามพี่น้อง ได้แก่ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ และบริวาร รวม 1,000 คนก่อน แล้วได้ขอบวชในพระพุทธศาสนา เพราะพวกชฎิลเป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟที่ยิ่งใหญ่ หากชฎิลยอมรับพุทธธรรมได้ ประชาชนก็ย่อมเกิดความศรัทธา
- พระอุรุเวลกัสสปะได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท(บริวาร)มาก
- พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดนับว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระเวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน)



10.อุปติสสะ(พระสารีบุตร)และโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ)
- ณ กรุงราชคฤห์นี้เอง เด็กหนุ่มสองคน ซึ่งเป็นศิษย์ของนักปรัชญาเมธี ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ สัญชัย เวลัฏฐบุตร โดยพระอัสสชิได้แสดงธรรมให้อุปติสสะว่า

"ทุกสิ่งจากเหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และการดับเหตุของสิ่งเหล่านั้น"
อุปติสสะได้ฟังก็เกิด "ดวงตาเห็นธรรม" จึงกราบลาท่าน แล้วรีบไปบอกข้อความที่ตนได้ฟังมาแก่โกลิตะทราบ โกลิตะได้ฟังก็เกิด"ดวงตาเห็นธรรม" เด็กหนุ่มสองคนจึงมาขอบวชเป็นสาวกพร้อมกัน และมีชื่อเรียกทางพระศาสนาว่า พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ตามลำดับ

- หลังจากบวชได้ 7 วัน พระโมคคัลลานะได้ไปบำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ กัลลวาลมุตตคาม ใกล้เมืองมคธ รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนพระพุทธเจ้าเสด็จไปตรัสบอกวิธีเอาชนะความง่วงให้ พร้อมประทานโอวาทว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) ทั้งหลายว่า เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน จบพุทธโอวาท พระโมคคัลลานะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- หลังจากบวชได้ 15 วัน พระสารีบุตรได้ถวายงานพัดพระพุทธเจ้า ขณะพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก (นักบวชไว้เล็บยาว) อยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ ท่านพัดวีพระพุทธองค์พลางคิดตามพระโอวาทของพระพุทธเจ้าไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางฤทธิ์มาก

11.โอวาทปาติโมกข์

- วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย

1.)วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
2.)พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3.)พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖ ซึ่งหมายถึงความสามารถ พิเศษ ๖ ประการ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุอาสวักขยญาณ
(คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)
4.)พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
ทรงเทศน์ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใจความว่า

" จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ "
- พระสงฆ์ปรารถว่าไม่เคยเห็นฝนเช่นนี้มาก่อน พระพุทธจึงทรงเล่าว่า ฝนนี้เคยตกมาแล้วเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร แล้วจึงทรงเล่าเรื่องมหาเวสสันดร


12.โปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
- ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) ได้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล จนบรรลุอรหันตผลเมื่อใกล้สวรรคต
- พระนันทะ (เป็นโอรสของพระสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตมี) ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านำ ออกผนวชอุปสมบท
- ต่อมาพระนางยโสธราก็ให้พระกุมารราหุลซึ่งมีอายุ 7 ปีไปทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าเห็นว่าราชสมบัติเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน อริยทรัพย์(ทรัพย์อันประเสริฐ)ต่างหากเป็นสิ่งยั่งยืน จึงทรงให้พระสารีบุตรทำการบรรพชาให้ราหุลเป็นสามเณร จึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ณ นิโครธาราม พระเจ้าสุทโธทนะจึงขอร้องว่า "ขออย่าให้ทรงบวชใคร โดยที่พ่อแม่เขายังไม่ได้อนุญาต"
เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา

- ทรงให้อุปสมบทแก่เจ้าศากยะ 5 พระองค์ คือ พระอานนท์ พระอนุรุทธ์(เป็นผู้มีเลิศในทางมีทิพยจักษุ) พระภัททิยะสักยราชา พระภัคคุ พระกิมพิละ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ คือพระเทวทัต จนได้บรรลุอรหัตผล 5 ท่าน ยกเว้นพระเทวทัต
- พระอุบาลีเป็นบุตรของช่างกัลบก(ช่างตัดผม)อยู่ในวรรณะต่ำ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานภูษามาลาของเจ้าศากยะ ทำหน้าที่จัดการดูแลเครื่องแต่งกาย เมื่อเจ้าศากยะ 5 พระองค์ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ทรงออกผนวช อุบาลีได้ติดตามไปขออุปสมบทด้วย พระอุบาลีเมื่อได้อุปสมบทแล้วไม่ช้าก็บรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทาง ด้านผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
- พระนางปชาบดีโคตมี(พระน้าของพระพุทธเจ้า) ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยพระอานนท์ช่วยกราบทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าสุดท้ายได้บรรลุพระอรหันต์ และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี
- โปรดให้พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีชื่อพระนางภัททา กัจจานา จนบรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ (สามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่างๆย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน)



13.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นโกศล
เมื่อประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้าง"วัดพระเชตวัน"ขึ้น แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐีนีคนหนึ่ง ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย



14.ปัจฉิมกาล


- ก่อนปรินิพพาน 3 เดือน ทรงปลงอายุสังขาร
- ก่อนปรินิพพาน 1 วัน นายจุนทะถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน) เมื่อพระองค์เสวยแล้วประชวรพระอานนท์โกรธ พุทธองค์จึงตรัสว่า

"บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ ,ปรินิพพาน"


- ก่อนปรินิพพานทรงกล่าวพุทธโอวาทว่า
1.)การบูชาพุทธองค์อย่างแท้จริง คือ การปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
2.)พุทธศาสนิกชนที่ต้องการเฝ้าพระองค์ควรไปที่ "สังเวชนียสถาน"
3.)การวางตัวของภิกษุต่อสตรี ต้องคุมสติอย่าแปรปรวนตามราคะตัณหา
4.)พระบรมสารีริกธาตุเป็นเรื่องของกษัตริย์(มัลลกษัตริย์) มิใช่กิจของสงฆ์
5.)ความพลัดพรากเป็นธรรมดาของโลก
6.)ธรรมและวินัย จะเป็นศาสดาแทนพุทธองค์ ทั้งนี้เพราะบุคคลไม่เที่ยงแท้เท่ากับพระธรรมซึ่งเป็นสัจธรรม


- ปัจฉิมสาวก คือ สุภัททะบริพาชก
- ปัจฉิมโอวาท

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
(อปปมาเทน สมปาเทต)


- ปรินิพพาน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
พระชนมายุ 80 ปี ทรงเทศนาสั่งสอนมาเป็นเวลา 45 ปี




กลับหน้าแรก