จำนวนผ้ชม

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มารยาทไทย

การยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ

การยืนเคารพธงชาติ หรือเพลงชาติ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธง ชาติเมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ

สำหรับการ เคารพธงชัยเฉลิมพลในพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีสาบาน ธงงานราชวัลลภ บุคคลทั่ว ไปเมื่อจะผ่านธงชัย เฉลิมพลให้หยุดและยืนแสดงคารวะหรือเมื่อมี การเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดง ความเคารพเช่นเดียวกัน


การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช

1. เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จ มาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อนพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศ์ชั้นสูง ผู้ที่ มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จ ผ่านแล้วจึงนั่งลง

2. ในกรณีที่ สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง (ซึ่งโดย ปรกติน่าจะไม่ปรากฏ) ให้ถวายความเคารพโดย วิธีนั่งประนมมือไหว้


การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรมวงศ์

1. การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่เสด็จ ถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศครึ่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ

ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายและ หญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยหัตถ์

หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควร กระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นราชการหญิงฝ่ายพลเรือนหรือพยาบาลที่แม้จะสวมหมวก ให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า " ถอนสายบัว" ตามแบบข้าราชการฝ่ายใน สำนักพระราชวัง

ส่วนบุคคลทั่วไปที่มีโอกาสได้เฝ้าฯแต่มิได้แต่งเครื่องแบบ ชาย ให้ถวายคำนับ ดังกล่าวข้างต้น หญิงถวายความเคารพ แบบย่อเข่าที่เรียกว่าถอนสายบัว ในกรณีต่างจังหวัด ชนบท พสกนิกร จะยกมือประนม ก้มศีรษะไหว้แบบไทยก็ได้ทั้งชายและหญิง

ถ้าสวมหมวกที่ไม่ใช่เครื่องแบบที่ทางราชการ กำหนดให้ถอดหมวกแล้วถวายความเคารพเหมือนผู้ที่ ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ยกเว้นผู้ที่โพกผ้า หรือสวมหมวกตามลัทธิศาสนาของตน

2.การยืนเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมวงศ์ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ 1 แล้วยืนตรงจนกว่าจะเสด็จ ฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์หรือพระเก้าอี้ เรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึง เคลื่อนที่ได้และลงนั่งเก้าอี้ตามลำดับตำแหน่ง

ในกรณีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระ ราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ นั้นเสร็จ ประทับพระราชอาสน์พระเก้าอี้แล้วจึงถวาย ความเคารพแล้วนั่ง

ผู้ที่นั่งเฝ้าฯ อยู่ในงานพิธีการต่าง ๆ เมื่อมีกิจจำเป็นจะต้องไปจากที่นั้น ให้ยืนถวายความเคารพก่อนแล้วจึงออกไปเมื่อกลับมาต้องถวายความเคารพอีกครั้งแล้วจึงนั่งลง

ในกรณีการเฝ้าฯ ที่ไม่ได้จัดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสรสันนิบาต งานเสด็จออกมหาสมาคม ผู้เฝ้า ฯ จะต้องยืนตลอดเวลาจนกว่าจะเสด็จฯ กลับ

3. การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเพื่อถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้แทนพระองค์

การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้ อยู่ในที่เฝ้าฯ เช่น เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงเป็นการเปิดหรือปิดงาน หรือเมื่อมหรสพเริ่ม หรือเลิก ควรทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อ เพลงจบให้คำนับโดยก้มศีรษะทั้งชายและหญิง


การยืนในพิธีต่าง ๆ

1. การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์และเพลงมหาชัย

เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญ ๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป

เพลงมหาชัย ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น

เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัยบรรเลงให้ยืน ตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธี ของทางราชการผู้เป็นทหารหรือข้าราชการ พลเรือนที่อยู่ในเครื่องแบบให้ปฏิบัติตามระเบียบ ของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่ กรณี

2. การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติ แก่ผู้ล่วงลับ

ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวาง เครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ ไม่ว่าจะมี เพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพ ผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย

3. การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน

ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธาน ที่กำลังเดินผ่านปล่อยมือไว้ข้างตัว

4. การยืนฟังโอวาท

ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นใน กรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียวให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับ อกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัวแล้วแต่ทาง พิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้ง ฉากกับลำตัว

5. การยืนกล่าวคำปฏิญาณ

โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อ ธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณแด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า หันหน้าไป ทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียนและกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณ ปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้ของสถาบันนั้นๆ

การยืนที่ไม่เป็นพิธี

1. การยืนรับคำสั่ง

ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว

2. การยืนให้เกียรติผู้ ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากัน อยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามาหรืออยู่ร่วม สนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรงมือประสานกันอยู่ ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อยรอจนผู้ใหญ่นั่ง แล้วจึงนั่งลง

3. การยืนสนทนากับ ผู้ใหญ่ ให้ยืนตรงชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือ ห่างผู้ใหญ่จนเกินไป

4. การยืน คุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดู มหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือ เกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือ ยืนบังผู้อื่นในการยืนดูมหรสพหรือขบวน แห่ เป็นต้น

5. การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะ การยืนเช่นเดียวกับข้อ 4 แต่จะต้องเข้า แถวให้เป็นระเบียบเรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่ง กัน เช่น การยืนตามลำดับก่อนหลังในการเตรียม ขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรด น้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหาร แบบช่วยตัวเอง

6. การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืนในลักษณะสุภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น